เมนู

ไม่พึงสำคัญแต่ขันธ์ ธาตุและอายตนะ ไม่พึงสำคัญว่า ขันธ์ ธาตุ และ
อายตนะของเรา เธอเมื่อไม่สำคัญอย่างนี้ ย่อมไม่ถือมั่นสิ่งอะไร ๆ ในโลก
เมื่อไม่ถือมั่น ย่อมไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมดับสนิทเฉพาะตนทีเดียว
ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
จบ ทุติยเอชสูตรที่ 8

อรรถกถาปฐมเอชสูตรที่ 7- ทุติยเอชสูตรที่ 8


ในปฐมเอชสูตรที่ 7 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า เอชา ได้แก่ ตัณหา. ตัณหา แม้นั้น ท่านเรียกว่า เอชา
เพราะอรรถว่า. หวั่นไหว. อนึ่ง เอชา นั้น ชื่อว่า โรคะ เพราะอรรถ
เบียดเบียน. ชื่อว่า คัณฑะ ฝี เพราะอรรถว่า ประทุษร้ายในภายใน.
ชื่อว่า สัลละ ลูกศร เพราะอรรถว่า ตัด. บทว่า ตสฺมา ความว่า
เพราะเหตุที่เอชา ชื่อว่า เป็นตัวตัณหา เป็นตัวโรค และเป็นลูกศร
ฉะนั้น. คำว่า จกฺขุ น มญฺเญยฺย เป็นต้น มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
สูตรทั้งหมด ท่านจัดไว้ในหนหลังชักมาแสดงไว้แม้ในที่นี้. สูตรที่ 8 มีนัย
ดังกล่าวแล้วนั่นแล.
จบ อรรถกถาปฐมเอชสูตรที่ 7 - ทุติยเอชสูตรที่ 8

9. ปฐมทวยสูตร


ว่าด้วยทรงแสดงส่วนสอง


[ 123 ] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจัก
แสดงส่วนสองแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ก็ส่วนสองเป็นไฉน คือ
จักษุกับรูป 1 โสตะกับเสียง 1 ฆานะกับกลิ่น 1 ชิวหากับรส 1 กาย
กับโผฏฐัพพะ 1 ใจกับธรรมารมณ์ 1 นี้เรียกว่าธรรมคู่ ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย บุคคลใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราบอกเลิกส่วนสองนั้นเสียแล้ว
จักบัญญัติส่วนสองเป็นอย่างอื่น วาจาของบุคคลนั้นกันให้เป็นเรื่องของ
เทวดา. ก็บุคคลนั้นถูกเขาถามเข้าแล้วก็อธิบายไม่ได้ และถึงความอึดอัด
ยิ่งขึ้น ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร เพราะข้อนั้นไม่ใช่วิสัย.
จบ ปฐมทวยสูตรที่ 9

อรรถกถาปฐมทวยสูตรที่ 9


ปฐมทวยสูตรที่ 9 คำว่า ทฺวยํ แปลว่า ส่วนสอง.
จบ อรรถกถาปฐมทวยสูตรที่ 9

10. ทุติยทวยสูตร


ว่าด้วยทรงแสดงส่วนสอง


[124] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิญญาณ
เกิดขึ้นเพราะอาศัยส่วนสอง วิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยส่วนสองเป็น
อย่างไร จักษุวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักษุและรูป จักษุไม่เที่ยง มีความ